อุปกรณ์แก๊สที่สำคัญมี3ตัว ได้แก่
- ถังแก๊ส จะต้องสร้างให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดจากสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าและเป็นที่ยอมรับ
- หัวปรับแรงดัน ส่วนใหญ่สั่งเข้ามาจากต่างประเทศ
ควรเลือกซื้อจากบริษัทที่มีประสบการณ์ และได้ทำการค้าขายด้านก๊าซมาเป็นเวลานานแล้ว
ซึ่งหัวปรับแรงดันได้รับการทดสอบจนมั่นใจ
- สายยาง
ต้องเป็นสายที่ผลิตได้มาตรฐานเหมาะสมกับสภาพของแก๊ส
การตั้งถังและเตาแก๊ส
- ถังแก๊สและเตาแก๊สจะต้องตั้งในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี
- จะต้องไม่ตั้งถังแก๊สในห้องใต้ดิน
หรือบนพื้นที่ต่ำกว่าระดับพื้นอาคารหรือระดับพื้นดิน
- พื้นที่รองรับถังแก๊สจะต้องแข็งแรงเพียงพอ และพื้นต้องราบเสมอ ไม่ทำให้ถังแก๊สเอียง
ซึ่งจะทำให้ถังแก๊สล้มได้
- ถังแก๊สควรจะให้ห่างจากเตาแก๊สประมาณ
1 เมตร ถึง 1.50 เมตร
- อย่าตั้งถังแก๊สไว้ใกล้ประตูทางเดินเข้าออกจนเกินไป
เพราะถังแก๊สจะถูกชนล้ม หรือผู้ชนจะได้รับบาดเจ็บได้
- เตาแก๊สควรติดตั้งไว้ในที่มีอากาศเพียงพอสำหรับการเผาไหม้
- เตาแก๊สต้องติดตั้งไว้ในที่ที่มีการระบายอากาศที่ดี แต่ต้องไม่มีลมพัดแรง
เพราะจะทำให้ไฟดับเมื่อเปิดแก๊สไว้ก่อน
- ถังแก๊สไม่ควรตั้งไว้ใกล้บ่อหรือรางระบายน้ำเปิด ซึ่งถ้าแก๊สรั่วอาจจะไปรวมกันอยู่ในบ่อหรือราง
อาจเกิดอันตรายได้
การใช้แก๊ส
- ดูให้แน่ว่า หัวปรับแรงดันก๊าซได้สวมติดกับถังแก๊สอย่างแน่นหนาแล้ว
- คอยหมั่นตรวจสภาพยาง รอยต่อของท่อยาง กับหัวปรับแรงดัน และรอยต่อกับเตาแก๊ส
- ถังแก๊สชนิดใช้วาล์วเปิด เมื่อเปิดแก๊สใช้ควรเปิดประมาณ 1 รอบ ก็พอ
- การจุดเตาแก๊สที่ไม่มีเครื่องจุดอัตโนมัติ จะต้องจุดไฟรอไว้ก่อนจึงทำการเปิดแก๊ส
และอย่าเปิดแก๊สทิ้งไว้ถ้ายังไม่มีการติดไฟที่เตา
- ถ้ามีกลิ่นแก๊ส ห้ามจุดไฟเด็ดขาด ให้ทำการเปิดระบายอากาศ
และใช้ไม้กวาดทำการกวาดแก๊สออกจากห้อง
- การใช้งานทุกครั้ง ให้ปรับส่วนผสมของอากาศและแก๊สให้ถูกต้อง
จนได้เปลวไฟสีน้ำเงิน ทุกครั้งที่เลิกใช้เตาแก๊ส
|